บางครั้ง อาการแปลก ๆ บางอย่างที่คุณแม่กำลังตื่นตระหนก
อาจเป็นอาการปกติในเด็กทารกแรกเกิดทั่วๆ ไปก็ได้
ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่า ว่าอาการปกติในเด็กแรกเกิด
ที่คุณแม่มือใหม่จะต้องเจอมีอะไรบ้าง
1. อาการแหวะนม
อาการที่พบได้ในเด็กแรกเกิดทั่วไป นมที่ออกมามีลักษณะ
เป็นลิ่ม เกิดจากหูรูดกระเพาะอาหารของทารกยังทำงาน
ได้ไม่ดีพอ ทำให้นมไหลย้อนกลับออกมาในปาก
หลังจากเด็กกินนมเข้าไปทุกครั้ง คุณพ่อคุณแม่
ควรจับลูกเรอ ทำให้ลูกแหวะนมน้อยลง โดยหลังจาก
อายุ 4 เดือน จะหายไปได้เอง
2. อาการสะอึก
สาเหตุเกิดจากการขยายตัวของกระเพราะอาหาร
หลังเด็กกินนมเข้าไป ไปดันกระบังลม ทำให้กระบังลม
เกิดการหดตัว จนเกิดอาการสะอึก
วิธีแก้ไขคือให้คุณพ่อคุณแม่จับลูกเรอหลังกินนมทุกครั้ง
หรือจับนอนยกหัวสูงประมาณ 30 นาที ก่อนที่จะนอนราบ
3. อาการครืดคราดในลำคอเวลากลางคืน
เกิดจากหลอดลมของทารกยังไม่แข็งตัว เมื่อเด็กนอนหลับ
ในเวลากลางคืน จึงมีเสียงดังครือคราดในลำคอได้
4. อาการบิดตัว
อาการบิดตัวนี้บ่งบอกว่าลูกมีกล้ามเนื้อที่สมบูรณ์ แข็งแรง
แต่หากลูกบิดตัวแล้วมีผิวซีดหรือเป็นสีเขียว ต้องรับพาไป
พบแพทย์ทันที เพราะอาจมีอาการชักได้
5. อาการกระตุกเวลาหลับ
การกระตุกที่แขนหรือขาและอาจมีการกรอกตาร่วมด้วย
ในเด็กแรกเกิดถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่หากมีอาการที่ผิดปกติ
นอกเหนือไปจากนี้ แนะนำให้ถ่ายคลิปวีดีโอ เพื่อปรึกษา
กับคุณหมอว่าเป็นอาการที่ปกติหรือไม่
6. อาการผิวหนังลอก
หลังจากคลอด 48 ชั่วโมง เด็กทารกบางคน
อาจมีอาการผิวลอกที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และที่ลำตัว
เป็นขุย ๆ ได้ และหลังจาก2 สัปดาห์ก็จะหายไปเอง
7. อาการริมฝีปากแห้งและลอกเป็นแผ่น
เกิดจากการดูดนมของทารก ทำให้ผิวหนังรอบริมฝีปาก
ของเจ้าตัวน้อยลอกเป็นแผ่นได้ และจะหายได้เองเมื่อ
อายุครบ 1 เดือน
8. อาการผิวหนังลายเหมือนร่างแห
เป็นเพราะผิวหนังเด็กค่อนข้างบาง จึงทำให้เห็นเส้นเลือด
ที่อยู่บริเวณผิวหนังได้ชัดเจน
9. ลูกมีปานเขียวที่ก้น
อาการผิวหนังมีสีเขียวเทาหรือสีน้ำเงินดำ จากการมีเมลาโนไซต์
กระจายอยู่ในผิวหนัง พบได้ตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 12 ปี
หลังจากนั้นจะค่อยๆ หายไป
10. อาการเขียวคล้ำที่ใบหน้าหรือเลือดออกในตาขาว
จะพบได้ในเด็กทารกที่คลอดทางช่องคลอดหรือมีภาวะคลอดยาก
ซึ่งจะหายไปภายใน 1-2 วัน โดยไม่ต้องรักษาหรือทายาแต่อย่างใด
11. ปานแดงชนิดเรียบ
บริเวณที่เกิดปานแดงชนิดเรียบได้บ่อยจะได้แก่ บริเวณหน้าผาก
ผิวหนังบริเวณใต้จมูก และท้ายทอย แต่จะค่อยๆ หายไปเอง
เมื่อลูกอายุ 1 ขวบ
12. อาการตัวเหลือง
ภาวะตัวเหลืองในเด็กที่เป็นปกติจะเป็นในช่วงอายุเกิน 1 เดือนขึ้นไป
กินนมแม่อย่างเดียว แล้วมีอาการตัวเหลือง และมีอาการอื่นรวม
เช่นอุจจาระมีสีเหลืองนวล น้ำหนักขึ้นดี กินนมได้ อาการนี้จะค่อย ๆ
หายตัวเหลืองได้เองเมื่ออายุเกิน 4 เดือน
13. อาการลูกร้องเวลาถ่ายปัสวะ
เป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นได้กับเด็กทารกแรกเกิด แต่อาการเหล่านี้
จะหายได้เองเมื่อลูกโตขึ้น แต่เจ้าตัวน้อยต้องไม่มีอาการปัสวะขัด
ฉี่กระปิดกระปอย หรือมีอาการอื่นร่วม
14. อาการนมเป็นเต้าในเด็กแรกเกิด
พบได้ทั้งเด็กเพศชายและเพศหญิง เด็กบางคนมีน้ำนมไหลร่วมด้วย
อันนี้คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องตกใจ เพราะจะสามารถหายได้เอง
เมื่อลูกมีอายุครบ 6 เดือนขึ้นไป
15. ลูกไม่ถ่ายทุกวัน
การขับถ่ายของเด็กแรกเกิดไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นทุกวัน
อาจจะวันเว้นวัน หรือ 2 วันครั้งก็ได้ แต่ต้องขับถ่ายเป็นสีเหลืองปกติ
ไม่เป็นมูกหรือแข็งเป็นขี้แพะ
16. ลูกถ่ายอุจจาระบ่อย
การถ่ายอุจจาระบ่อยในเด็กแรกเกิดที่กินนมแม่พบได้ปกติ แต่ควรจะสังเกต
อุจจาระร่วมด้วย ต้องเป็นสีเหลืองนวล ต้องไม่เป็นมูก หรือมีเลือดปน
17. ลูกมีตุ่มขาวนูนที่หน้า
ลักษณะเป็นตุ่มเม็ดเล็ก ๆ สีขาวหรือเหลืองขุ่น มักขึ้นบริเวณหน้าผาก
จมูก แก้ม และคาง เกิดจากการสะสมของโปรตีนบนชั้นหนังกำพร้า
มากเกินปกติ ไม่เป็นอันตราย และจะหลุดหายไปเอง
18. ลูกมีตุ่มขาวในปาก
เป็นภาวะปรกติของทารกแรกเกิด อาจมีจำนวนมากน้อยต่างกัน
ตุ่มเล็ก ๆ นี้ไม่ทำให้ทารกไม่ดูดนมและจะหลุดไปเอง
19. ลิ้นขาวเป็นฝ้า
เกิดจากคราบน้ำนมที่เกาะเป็นคราบอยู่บริเวณโคนลิ้น หรือปลายลิ้น
แนะนำให้คุณแม่เอาผ้าอ้อมชุบน้ำต้มสุกสะอาดมาเช็ดบริเวณลิ้น
เหงือก และช่องปากของลูกบ่อยๆ วันละ 2-3 รอบ อาการเหล่านี้
ก็จะหายไปเอง
20. มีติ่งเนื้อยื่นออกมาจากช่องคลอด มีเลือดออกทางช่องคลอด
สาเหตุเกิดจากฮอร์โมนของคุณแม่ส่งผ่านรกมาสู่ลูก ซึ่งตับของทารก
ยังสลายฮอร์โมนได้ไม่ดี เลยทำให้มีฮอร์โมนตกค้างอยู่ในตัวของลูก
ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายเองเมื่อลูกมีอายุประมาณ 1-2 เดือน
สำคัญคือคุณแม่ต้องหมั่นเช็ดทำความสะอาด ใช้สำลีชุบน้ำเช็ดบริเวณ
ที่มีเลือดออก เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
20 อาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทารกทุกคน
แต่หากพบว่าลูกมีอาการบางเกิดขึ้นที่นอกเหนือไปจากนี้
และไม่แน่ใจว่าใช่อาการปกติในทารกหรือไม่ แนะนำ
ให้รีบพาลูกไปพบคุณหมอทันทีค่ะ
ด้วยความห่วงใยและใส่ใจ…….Sofflin
Comentários